ป่าไม้ผลัดใบหลากหลายประเภท

ป่าไม้ผลัดใบ เป็นป่าไม้ผลัดใบตามฤดูกาล สามารถพบได้ในทุกภาคขงประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีช่วงฤดูแล้งยาวนานอย่างเห็นเด่นชัด ประมาณ 4 – 7 เดือน ยกเว้นภาคใต้ กับภาคตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งจังหวัดจันทบุรี และ ตราด เมื่อถึงคราวแล้งความชุ่มชื้นในพื้นดินกับในอากาศลดลง ต้นไม้ผลัดใบร่วงหล่นสู่พื้นดิน พร้อมเตรียมผลิใบอ่อนขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อถึงช่วงต้นฤดูฝนหรือเมื่อคราวป่าไม้มีความชุ่มฉ่ำมากขึ้น…

ประเภทของป่าไม้ผลัดใบแบ่งงออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

ป่าเบญจพรรณหรือป่าผลัดใบผสม

พบมากใน ภาคเหนือ กับ ภาคกลาง รวมทั้งพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ้างเป็นประปราย ทางภาคใต้ไม่พบป่าชนิดนี้เลย ป่าชนิดนี้มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ประกอบด้วยไม้ต้นขนาดใหญ่ , ขนาดกลาง , ขนาดเล็ก ปะปนกันไป แต่ไม่พบเห็นพรรณไม้กลุ่มยาง-เต็ง-รังที่ผลัดใบ มีความชุ่มชื้นในดินปานกลาง เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนต้นไม้จะผลิใบกลับมาเขียวชอุ่มเช่นเดิม ส่วนป่าเบญจพรรณที่มีดินตื้นหรือดินกรวดทราย จะมีสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง อีกทั้งยังมีไฟป่าในช่วงฤดูแล้งอยู่บ่อยครั้ง ต้นไม้จะมีรูปร่างแคระแกร็น , เรือนยอดเป็นพุ่มเตี้ย เช่น กระถินพิมาน , สีฟันคนฑา , มะสัง เป็นต้น

ป่าเต็งรัง , ป่าแพะ , ป่าแดงหรือป่าโคก

พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถพบได้ทั่วไปในภาคเหนือ ค่อนมาทางภาคกลาง พบทั้งในพื้นที่ราบและภูเขาต่ำกว่า 1,000 เมตรลงมา ลักษณะของป่าเต็งรังจะมีความโปร่ง มีต้นไม้ผลัดใบขนาดกลางกับขนาดเล็กขึ้นกระจายตัวกันไม่แน่นหนาเท่าไหร่ บริเวณพื้นป่ามีหญ้า , ไผ่แคระ , ไผ่โจด ขึ้นอยู่ทั่วไป อีกทั้งยังมีลูกไม้หนาแน่น ทุกปีจะเกิดไฟป่าขึ้นเป็นประจำ บางพื้นที่เป็นที่ราบมีดินทรายลึก ต้นไม้มีทั้งขนาดสูงใหญ่ ขึ้นเป็นกลุ่มแน่นคล้ายเบญจพรรณ กลุ่มไม้ที่มีความสมบูรณ์ ได้แก่ กราด , เหียง , พลวง สำหรับป่าเต็งรังขนาดค่อนแคระแกร็น จะพบได้มากบนภูเขาภาคเหนือซึ่งมีดินตื้นบริเวณไหล่เขา พรรณไม้แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ กลุ่มไม้ยาง-เต็ง-รังผลัดใบ และไม้ในชั้นเรือนยอด ส่วนไม้กราด พบได้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น

ป่าเต็งรังตั้งอยู่บนภูเขาสูง

มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตร – 1,350 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล หรือพบมากทางภาคเหนือ สำหรับป่าประเภทนี้จะโดนไฟรบกวนอยู่เสมอ พรรณไม้ที่พบมากในป่าเต็ง-รัง-สนเขา เช่น สนสองใบ , สนสามใบ เป็นต้น อีกทั้งยังมีพรรณไม้เด่นของป่าเต็งรังขึ้นอยู่ทั่วไป